งานอบรมระยะสั้น
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

การอบรมระยะสั้น ประจำปี 2568

เรื่อง “การอบรมเชิงปฏิบัติการ : การวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ 

(Systematic Review)”
วันที่ 18-20 มิถุนายน 2568  (3 วัน)

จัดแบบออนไซต์

 

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล

--------------------------------------------------

ชื่อโครงการ : การอบรมระยะสั้น ประจำปี 2568 เรื่อง “การอบรมเชิงปฏิบัติการ : การวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review)”

หน่วยงานรับผิดชอบ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้รับผิดชอบ :  อาจารย์ ดร. นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์ รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรนงค์ สกุลศรี

หลักการและเหตุผล :

           การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) เป็นวิธีการทำวิจัยรูปแบบหนึ่งที่ใช้กระบวนการที่ได้มาตรฐานในการรวบรวมและศึกษาผลงานวิจัย เพื่อสรุปเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้เป็นหลักฐานประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายและต่อยอดงานวิจัยต่าง ๆ ได้ การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบได้รับการยอมรับว่าเป็นการวิจัยที่มีคุณภาพสูง และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาองค์ความรู้ ปัจจุบัน การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เป็นทักษะที่สำคัญและเป็นที่ต้องการในกลุ่มนักวิจัย  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความเข้าใจในแนวคิดและหลักการของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ตลอดจนได้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะสามารถดำเนินการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบได้จริง

วัตถุประสงค์ :

          เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้หลักการในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และฝึกฝนทักษะการทำวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

เนื้อหาหลักสูตร :

  • การทำความรู้จักการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
    • หลักการและแนวคิดสำคัญ
    • คุณลักษณะ
    • ประโยชน์และการนำไปใช้
  • เทคนิคการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ  
  • การตั้งคำถามงานวิจัย
  • การกำหนดขอบเขตการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
  • การกำหนดเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออกงานวิจัย (inclusion/exclusion criteria)
  • การลงทะเบียนแนวทางการศึกษา
  • เทคนิคการสืบค้นงานวิจัย
    • ฐานข้อมูล (database)
    • การสร้างคำสำคัญ (keywords)
  • การคัดเลือกงานวิจัย
  • การใช้งานโปรแกรม EndNote เพื่อนำเข้าและจัดการข้อมูล
  • การประเมินคุณภาพของงานวิจัย
  • การสกัดข้อมูล (data extraction)
  • การสังเคราะห์ข้อมูล
  • การเขียนงานวิจัย
  • การปฏิบัติงานกลุ่มหรือเดี่ยว:
    • พัฒนาคำสำคัญ (search syntax) เพื่อสืบค้นงานวิจัย
    • ใช้งานฐานข้อมูลที่สำคัญ (database)
    • ใช้โปรแกรม EndNote เพื่อนำเข้าและคัดเลือกงานวิจัย
    • นำเข้างานวิจัยจากฐานข้อมูลต่าง ๆ
    • ระเมินคุณภาพงานวิจัย
    • สร้างตารางการสกัดข้อมูล
    • นำเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

กำหนดการอบรม : วันที่ 18-20 มิถุนายน 2568 (3 วัน)

รูปแบบการจัด : ออนไซต์ ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม :

  • มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการวิจัย
  • มีความถนัดในการใช้คอมพิวเตอร์ สามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office เช่น Word  Excel
  • สามารถเข้ารับการอบรมในหลักสูตรได้เต็มเวลา

ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ :

  • ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจสามารถพัฒนางานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
  • ผู้เข้าอบรมได้กระบวนการ/แนวทาง (protocol) ในการทำวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบในหัวข้อที่สนใจ
  • ผู้เข้าอบรมใช้งานฐานข้อมูลและโปรแกรม EndNote ได้

สิ่งที่ผู้เรียนควรรู้/ต้องมี :

  • ผู้เข้าอบรมเตรียมหัวข้อวิจัยที่สนใจทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ สำหรับการปฏิบัติงานกลุ่มหรือเดี่ยว
  • คอมพิวเตอร์ลงโปรแกรม EndNote

เงื่อนไขในการเข้ารับการอบรม :

  • หากจำนวนผู้สมัครไม่ครบตามที่ทางโครงการกำหนด ทางโครงการขอยกเลิกการอบรม

ค่าใช้จ่ายในการอบรม :

          ผู้เข้าอบรม มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากต้นสังกัดได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง  ตามหนังสือ ที่ กค 0409.6/ว.122 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2545 และหนังสือที่ กค.0409.6/ว.95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2549 สำหรับข้าราชการสามารถเข้าอบรมได้ โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ค่าลงทะเบียนรูปแบบออนไซต์ ท่านละ 4,200.00 บาท (สี่พันสองร้อยบาทถ้วน) 

งบประมาณ :

          -  จากเงินรายได้สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
          -  จากค่าลงทะเบียนของผู้เข้าอบรม

ระยะเวลาการรับสมัคร : ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2568 

ประกาศผลการพิจารณา : วันที่ 22 พฤษภาคม 2568 โดยตรวจสอบรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าอบรมฯ ที่ http://www.ms.ipsr.mahidol.ac.th/training_web/ หรือสอบถามที่อีเมล waiwingrob@gmail.com; warissara.kai@mahidol.edu 

เงื่อนไขการชำระเงิน : ชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ประกาศการพิจารณา จนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 (หลังจากเจ้าหน้าที่จัดอบรมแจ้งว่าจัดอบรมได้)

เงื่อนไขการคืนเงินค่าลงทะเบียน

  • สถาบันฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้ทั้งหมด ในกรณีที่ผู้สมัครได้แจ้งยกเลิกเข้ารับการอบรม ก่อนวันที่ 4 มิถุนายน 2568 เท่านั้น
  • สถาบันฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้ร้อยละ 25 ในกรณีที่ผู้สมัครได้แจ้งยกเลิกเข้ารับการอบรม ก่อนวันที่ 11 มิถุนายน 2568 เท่านั้น
  • กรณีสถาบันฯ เป็นฝ่ายยกเลิกการอบรม สถาบันฯ คืนค่าลงทะเบียนให้ทั้งหมด

การรับสมัคร: กรอกใบสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.ms.ipsr.mahidol.ac.th/training_web/resumes.php

ติดต่อสอบถามได้ที่ : หน่วยบริหารงานวิจัยและบริการวิชาการ อีเมล waiwingrob@gmail.com; warissara.kai@mahidol.edu  โทรศัพท์ 0 2441 0201 ต่อ 301 มือถือ 06 1954 6282 และสามารถเข้าดูรายละเอียดการอบรมได้ที่ http://www.ms.ipsr.mahidol.ac.th/training_web/index.php



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานอบรม โทรศัพท์ 0 2441 0201 ถึง4 ต่อ 301 โทรสาร 0 2441 9333
E-mail : waiwingrob@gmail.com,warissara.kai@mahidol.ac.th
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
www.ipsr.mahidol.ac.th