การอบรมระยะสั้น ประจำปี 2568
เรื่อง “การวิจัยติดตามและประเมินผล”
จัด 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 13-15 พฤษภาคม 2568 (3 วัน) และ
ครั้งที่ 2 วันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2568 (3 วัน)
รูปแบบออนไซต์
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
--------------------------------------------------
ชื่อโครงการ : การอบรมระยะสั้น ประจำปี 2568 เรื่อง “การวิจัยติดตามและประเมินผล”
หน่วยงานรับผิดชอบ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้รับผิดชอบ : รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และทีม
หลักการและเหตุผล :
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยติดตามและประเมินผลมาอย่างยาวนาน จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีการสร้างความชัดเจนของการนำแนวคิด/ทฤษฎีต่างๆ ด้านการวิจัยติดตามและประเมินผลมาสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่กับองค์ความรู้ที่ได้มาจากการสั่งสมประสบการณ์การทำงานจริงด้านการวิจัยติดตามและประเมินผลในบริบทต่างๆ ของทีมวิทยากร ทำให้เนื้อหาที่ใช้ในการจัดอบรมในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในการทำงาน มากกว่าเนื้อหาที่เป็นเชิงวิชาการ ซึ่งเป็นคุณค่าและจุดขายของการจัดอบรมครั้งนี้
การวิจัยติดตามและประเมินผล มีความสำคัญในการพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมายตรงตามนโยบาย แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด มีข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอ มีตัวชี้วัดที่แม่นตรง และเชื่อถือได้ จึงก่อให้เกิดการปรับปรุงการทำงาน การตัดสินคุณค่าโครงการ/กิจกรรม การสร้างความรู้ใหม่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงการกระทำหรือการปฏิบัติทั้งระดับบุคคล และองค์กร มาเป็นต้นแบบในการขยายผล สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นับได้ว่าเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนในสังคมไทย จำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทั้งองค์กรและบุคลากรให้สามารถทำวิจัยติดตามและประเมินผลได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
ดังนั้น ในปี 2568 นี้ สถาบันฯ จึงได้จัดการอบรมระยะสั้น เรื่อง “การวิจัยติดตามและประเมินผล” เพื่อจุดประกายให้ผู้เข้ารับการอบรม ที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบการ และภาคประชาสังคม ทั้งระดับผู้บริหาร และระดับปฏิบัติการ ได้เรียนรู้แนวคิดและแนวปฏิบัติในการนำการติดตามและประเมินผลไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการทำงาน
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และมีทักษะในการวิจัยติดตามและประเมินผล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและหน่วยงาน
เนื้อหาหลักสูตร :
- Result Framework
- Logic Model
- การใช้ข้อมูลเพื่อการจัดสินใจ (Data Demand and Information Use: DDIU)
- Indicator Reference Sheet
- Action Plan
- R2H การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรอย่างยั่งยืน
- DNA องค์กรแห่งความสุข
- เชิงปริมาณ
- เชิงคุณภาพ
- เชิงปฏิบัติการ
กำหนดการอบรม : กำหนดจัด 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 13-15 พฤษภาคม 2568 (3 วัน) และ ครั้งที่ 2 วันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2568 (3 วัน)
รูปแบบการจัด : รูปแบบออนไซต์
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม : 20 คน
สถานที่อบรม :
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม :
เงื่อนไขในการเข้ารับการอบรม :
ค่าใช้จ่ายในการอบรม :
ผู้เข้าอบรม มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากต้นสังกัดได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ตามหนังสือ ที่ กค 0409.6/ว.122 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2545 และหนังสือที่ กค.0409.6/ ว.95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2549 สำหรับข้าราชการสามารถเข้าอบรมได้ โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ค่าลงทะเบียน ท่านละ 4,200.00 บาท (สี่พันสองร้อยบาทถ้วน) ต่อครั้ง
งบประมาณ :
ระยะเวลาการรับสมัคร : ครั้งที่ 1 ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2568 ครั้งที่ 2 ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2568
ประกาศผล :
สอบถามได้ที่อีเมล waiwingrob@gmail.com; warissara.kai@mahidol.ac.th
เงื่อนไขการชำระเงิน :
เงื่อนไขการคืนเงินค่าลงทะเบียน
ครั้งที่ 1 :
การรับสมัคร: กรอกใบสมัครออนไลน์ได้ที่ http://mis-ipsr.mahidol.ac.th/training/pages/user/register.php
ติดต่อสอบถามได้ที่ : หน่วยบริหารงานวิจัยและบริการวิชาการ อีเมล waiwingrob@gmail.com; warissara.kai@mahidol.edu โทรศัพท์ 0 2441 0201 ต่อ 301 มือถือ 06 1954 6282 และสามารถเข้าดูรายละเอียดการอบรมได้ที่ http://www.ms.ipsr.mahidol.ac.th/training_web/index.php
http://mis-ipsr.mahidol.ac.th/training/pages/user/register.php