หลักสูตรการอบรมระยะสั้น
เรื่อง “R2R Workshop Series – ก้าวไปด้วยกันกับงาน R2R”
ระหว่างเดือนตุลาคม 2567 - กุมภาพันธ์ 2568 (จำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 2 วัน)
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
--------------------------------------------------
ชื่อโครงการ : การอบรมระยะสั้น ประจำปี 2568 เรื่อง “R2R Workshop Series – ก้าวไปด้วยกันกับงาน R2R”
หน่วยงานรับผิดชอบ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้รับผิดชอบ : ว่าที่ร้อยตรี นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์ นักปฏิบัติการวิจัย (ผู้เชี่ยวชาญ) และทีม
หลักการและเหตุผล :
การทำงานวิจัยจากงานประจำ หรือทำงานประจำจนเป็นงานวิจัย R2R (Routine to Research) เป็นการมุ่งเน้นที่การนำกระบวนการหรือระเบียบวิธีการวิจัยไปพัฒนาการทำงานประจำให้ดีขึ้น สนับสนุนการทำงานเป็นทีมที่เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในสถานการณ์จริง ที่ทุกคนมีส่วนร่วมและเป็นส่วนสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งตนเองและไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบได้ การทำงานวิจัยจากงานประจำไม่เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่เน้นที่กระบวนการการเรียนรู้เพื่อพัฒนางานประจำให้ดียิ่งขึ้น เป็นการเรียนรู้การออกแบบการวิจัย เรียนรู้ร่วมกันตั้งแต่การตั้งคำถามที่ดี เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ที่กว้างขวางและหลากหลายมากขึ้น เรียนรู้ที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและเกิดทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ที่จะนำเครื่องมือใช้เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาและพัฒนางานได้ และที่สำคัญคือเรียนรู้คุณค่าของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีแรงจูงใจ คือ เป้าหมายร่วมกันที่จะให้การทำงานหรืองานบริการที่ทำอยู่นั้น ดีขึ้นกว่าเดิม การทำงาน R2R ไม่จำเป็นต้องใช้ระเบียบวิธีวิจัยและระเบียบทางสถิติที่ซับซ้อน แต่ต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ และสามารถใช้ผลที่ได้จากการทำงาน R2R นั้นมาพัฒนางานประจำที่ตนเองรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น
การทำวิจัยของงาน R2R ที่ดีต้องมาจากผู้ทำวิจัยต้องเป็นผู้เผชิญหน้ากับปัญหาในงานประจำนั้นอยู่เป็นประจำในทุกๆ วัน ควรมีรวมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องมาร่วมกันทำงานให้เป็นทีม เพื่อช่วยกันสะท้อนปัญหาและร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนา เพื่อให้แน่ชัดว่าการทำงานวิจัย R2R นั้น จะสามารถนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทำให้การทำงานและการบริการให้มีคุณภาพดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือผู้รับบริการมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น และสำคัญที่สุด คือ งานวิจัย R2R เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ต้องนำผลลัพธ์กลับมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานได้จริงๆ ดังนั้น แนวคิดการพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ จึงเกิดการพัฒนาขึ้นเพื่อลดช่องว่างการดำเนินงาน จากการส่งเสริมให้นำผลงานไปพัฒนา หรือแก้ปัญหาในงานที่รับผิดชอบ ให้มีการขยายผลข้ามหน่วยงาน หรือเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ หรือต่อยอดการวิจัยให้มีความลุ่มลึกขึ้น จนสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ทั้งนี้ประเภทงานวิจัยสามารถดำเนินการได้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพจากเดิมที่การทำ R2R เพียงเพื่อต้องการแก้ปัญหาหน้างานให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ชุมชน สังคม
อย่างไรก็ตาม การผลิตผลงานทางวิชาการสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการถือว่ามีความสำคัญต่อทั้งหน่วยงาน และความก้าวหน้าทางวิชาชีพส่วนบุคคลเพราะเป็นการผลิตผลงานอันเกิดมาจากปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน เพื่อนำผลลัพธ์นั้น ไปปรับปรุง แก้ไข รวมถึงพัฒนาการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนได้มีโอกาสปฏิบัติงานจริง (workshop) โดยมุ่งหวังว่าการจัดกิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน ได้รับทราบข้อมูลเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ แนวทางการเตรียมความพร้อม เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของ R2R และ สามารถนําความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานประจําไปสู่การทํางานวิจัยได้ด้วยตนเอง
การจัดอบรมในครั้งนี้จึงเหมือนเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรสายสนับสนุนได้เรียนรู้ พัฒนาการทำงานวิจัย R2R ก้าวหน้าในสายอาชีพที่องค์กรวางไว้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณภาพในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนควบคู่ไปกับการทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร การเติบโตและก้าวหน้าในสายอาชีพจะช่วยสร้างแรงจูงใจและทำให้บุคลากรสายสนับสนุนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและได้รับการยอมรับจากองค์กรในเส้นทางการทำงานให้มีความก้าวหน้าสูงขึ้น การพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้ที่ผสมผสานระหว่างการพัฒนาความรู้จากการทำวิจัย R2R ผู้ที่เข้าร่วมอบรมจะได้แนวทางในการทำวิจัย R2R เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization) อย่างเป็นรูปธรรม มีเอกสารที่แสดงว่ามีการนำผลงานวิจัย R2R ไปใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย การใช้ประโยชน์เชิงชุมชน/สังคม และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์ :
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :
เนื้อหาหลักสูตร :
เนื้อหาหลักสูตรแบ่งเป็น 3 หัวข้อหลัก โดยแบ่งการอบรมเป็นลักษณะ Episode ดังนี้
Episode 1: ก้าวแรก เริ่มให้ถูก : ตั้งโจทย์ R2R
หัวข้อการอบรม:
วัตถุประสงค์:
ผลผลิตที่คาดหวัง:
Episode 2 : ก้าวต่อไป เขียนให้เป็น
หัวข้อการอบรม:
วัตถุประสงค์:
ผลผลิตที่คาดหวัง:
บทที่ 1 – 3 ของงาน R2R
Episode 3: ก้าวสุดท้าย จบให้ได้ : ลงมือวิเคราะห์ R2R ให้สำเร็จ
หัวข้อการอบรม:
วัตถุประสงค์:
ผลผลิตที่คาดหวัง: รายงานวิจัย/ผลงานวิเคราะห์/คู่มือปฏิบัติงาน
รูปแบบการจัด : รูปแบบออนไซต์
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม : บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล เท่านั้น
ค่าใช้จ่ายในการอบรม :
ค่าลงทะเบียน :
สมัครเข้าอบรมจำนวน 3 ครั้ง ท่านละ 6,600.00 บาท (หกพันหกร้อยบาทถ้วน)
สมัครเข้าอบรมจำนวน 1 ครั้ง ท่านละ 2,800.00 บาท (สองพันแปดร้อยบาทถ้วน)
งบประมาณ :
- จากเงินรายได้สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
- จากค่าลงทะเบียนของผู้เข้าอบรม
ระยะเวลาการรับสมัคร : ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2567
เงื่อนไขการชำระเงิน : ชำระเงินได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2567
ติดต่อสอบถามได้ที่ : งานอบรม อีเมล waiwingrob@gmail.com; warissara.kai@mahidol.edu
โทรศัพท์ 0 2441 0201 ต่อ 301 มือถือ 06 1954 6282 และสามารถเข้าดูรายละเอียดการอบรมได้ที่
http://mis-ipsr.mahidol.ac.th/training/pages/user/index.php
การรับสมัคร: กรอกใบสมัครออนไลน์ได้ที่ mis-ipsr.mahidol.ac.th/training/pages/user/register.php
Download : กำหนดการอบรมระยะสั้น "R2R Workshop Series – ก้าวไปด้วยกันกับงาน R2R"