งานอบรมระยะสั้น
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

การอบรมระยะสั้น ประจำปี 2567

เรื่อง  “การวิจัยติดตามและประเมินผล” 

จัด 2 ครั้ง ครั้งแรก วันที่  13 - 15 พฤษภาคม 2567  (3 วัน) และ

ครั้งที่ 2 วันที่ 11 - 13 พฤศจิกายน 2567 (3 วัน)

รูปแบบออนไซต์

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล

--------------------------------------------------

ชื่อโครงการ :   เรื่อง “การวิจัยติดตามและประเมินผล

หน่วยงานรับผิดชอบ :  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 

ผู้รับผิดชอบ :  รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และ ดร.กมลชนก รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และ ดร.กมลชนก ขำสุวรรณ 

หลักการและเหตุผล :

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยติดตามและประเมินผลมาอย่างยาวนาน จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีการสร้างความชัดเจนของการนำแนวคิด/ทฤษฎีต่างๆ ด้านการวิจัยติดตามและประเมินผลมาสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่กับองค์ความรู้ที่ได้มาจากการสั่งสมประสบการณ์การทำงานจริงด้านการวิจัยติดตามและประเมินผลในบริบทต่างๆ ของทีมวิทยากร ทำให้เนื้อหาที่ใช้ในการจัดอบรมในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในการทำงาน มากกว่าเนื้อหาที่เป็นเชิงวิชาการ ซึ่งเป็นคุณค่าและจุดขายของการจัดอบรมครั้งนี้ทฤษฎีต่างๆ ด้านการวิจัยติดตามและประเมินผลมาสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่กับองค์ความรู้ที่ได้มาจากการสั่งสมประสบการณ์การทำงานจริงด้านการวิจัยติดตามและประเมินผลในบริบทต่างๆ ของทีมวิทยากร ทำให้เนื้อหาที่ใช้ในการจัดอบรมในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในการทำงาน มากกว่าเนื้อหาที่เป็นเชิงวิชาการ ซึ่งเป็นคุณค่าและจุดขายของการจัดอบรมครั้งนี้

การวิจัยติดตามและประเมินผล มีความสำคัญในการพัฒนางานให้บรรลุเป้าหมายตรงตามนโยบาย  แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด มีข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอ มีตัวชี้วัดที่แม่นตรง และเชื่อถือได้ จึงก่อให้เกิดการปรับปรุงการทำงาน การตัดสินคุณค่าโครงการ/กิจกรรม การสร้างความรู้ใหม่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงการกระทำหรือการปฏิบัติทั้งระดับบุคคล และองค์กร มาเป็นต้นแบบในการขยายผล สามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  นับได้ว่าเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนในสังคมไทย จำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทั้งองค์กรและบุคลากรให้สามารถทำวิจัยติดตามและประเมินผลได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล

ดังนั้น ในปี 2567 นี้ สถาบันฯ จึงได้จัดการอบรมระยะสั้น เรื่อง “การวิจัยติดตามและประเมินผล” เพื่อจุดประกายให้ผู้เข้ารับการอบรม ที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบการ และภาคประชาสังคม ทั้งระดับผู้บริหาร และระดับปฏิบัติการ ได้เรียนรู้แนวคิดและแนวปฏิบัติในการนำการติดตามและประเมินผลไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการทำงาน

วัตถุประสงค์ :

          เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และมีทักษะในการวิจัยติดตามและประเมินผล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและหน่วยงาน

เนื้อหาหลักสูตร :

  • รู้จักการวิจัยพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การติดตามและประเมินผล
  • สารพันวิธีการวิจัยติดตามและประเมินผล

-  Result Framework 

-  Logic Model 

การใช้ข้อมูลเพื่อการจัดสินใจ (Data Demand and Information Use: DDIU) 

-  Indicator Reference Sheet

  • ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย
  • เครื่องมือช่วยในการติดตามและประเมินผล 

-  Action Plan

-  R2H การสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรอย่างยั่งยืน

-  DNA องค์กรแห่งความสุข

  • การวิเคราะห์ข้อมูลการติดตามประเมินผล
  • การปฏิบัติงานกลุ่ม และการนำเสนอ

กำหนดการอบรม :  กำหนดจัด 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่  11 - 13 พฤษภาคม 2567  (3 วัน) และครั้งที่ 2  วันที่ 11 - 13 พฤศจิกายน 2567  (3 วัน)

รูปแบบการจัด จัดแบบออนไซต์ 

จำนวนผู้เข้ารับการอบรม : 20  รายราย

สถานที่อบรม : อาคารประชาสังคมอุดมพัฒน์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล  ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม : ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ปฏิบัติในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ที่มีความสนใจ

มีข้อมูล (Data) สำหรับการติดตามประเมินผล) สำหรับการติดตามประเมินผล

วิทยากร

      ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์

      รองศาสตราจารย์ ดร.อมรา สุนทรธาดา

      รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต

      รองศาสตราจารย์ ดร.จรัมพร โห้ลำยอง

      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจนา หันจางสิทธิ์

      ดร.กมลชนก ขำสุวรรณ

      อาจารย์สุภรต์ จรัสสิทธิ์

เงื่อนไขในการเข้ารับการอบรม : ถ้าผู้สมัครไม่ครบตามที่ทางโครงการกำหนด ทางโครงการขอยกเลิกการอบรม

ค่าใช้จ่ายในการอบรม : 

           ผู้เข้าอบรม มีสิทธิเบิกค่าลงทะเบียน ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากต้นสังกัดได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง   ตามหนังสือ ที่ กค 0409.6/ว.122 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2545  และหนังสือที่ กค.0409.6/ ว.95 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2549 สำหรับข้าราชการสามารถเข้าอบรมได้ โดยไม่ถือเป็นวันลา เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว ค่าลงทะเบียน ท่านละ 4,200 บาท (สี่พันสองร้อยบาทถ้วน) 

งบประมาณ : จากเงินรายได้สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และจากค่าลงทะเบียนของผู้เข้าอบรม

ระยะเวลาการรับสมัคร :   ครั้งที่ 1 ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 

                                       ครั้งที่ 2 ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2567   (ขยายเวลาถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2567)

ประกาศผล : ครั้งที่ 1  วันที่ 20 เมษายน 2567   ครั้งที่ 2  วันที่ 17 ตุลาคม 2567   

สอบถามได้ที่อีเมล waiwingrob@gmail.comwarissara.kai@mahidol.ac.th  

เงื่อนไขการชำระเงิน : 

ครั้งที่ 1 : ชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ประกาศผล จนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2567 (หลังจากเจ้าหน้าที่จัดอบรมแจ้งว่าจัดการอบรมได้) 

ครั้งที่ 2 : ชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ประกาศผล จนถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2567 (หลังจากเจ้าหน้าที่จัดอบรมแจ้งว่าจัดการอบรมได้) 

เงื่อนไขการคืนเงินค่าลงทะเบียน

ครั้งที่ 1 : 

สถาบันฯจะคืนค่าลงทะเบียนให้ทั้งหมด ในกรณีที่ผู้สมัครได้แจ้งยกเลิกเข้ารับการอบรม ก่อนวันที่ 6 พฤษภาคม 2567 เท่านั้น สถาบันฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้ร้อยละ 25 ในกรณีที่ผู้สมัครได้แจ้งยกเลิกเข้ารับการอบรม ก่อนวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เท่านั้น กรณีสถาบันฯ เป็นฝ่ายยกเลิกการอบรม สถาบันฯ คืนค่าลงทะเบียนให้ทั้งหมด

ครั้งที่ 2 : 

สถาบันฯจะคืนค่าลงทะเบียนให้ทั้งหมด ในกรณีที่ผู้สมัครได้แจ้งยกเลิกเข้ารับการอบรม ก่อนวันที่ 3ตุลาคม 2567 เท่านั้น สถาบันฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้ร้อยละ 25 ในกรณีที่ผู้สมัครได้แจ้งยกเลิกเข้ารับการอบรม ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เท่านั้น กรณีสถาบันฯ เป็นฝ่ายยกเลิกการอบรม สถาบันฯ คืนค่าลงทะเบียนให้ทั้งหม

การรับสมัคร: กรอกใบสมัครออนไลน์ได้ที่ http://mis-ipsr.mahidol.ac.th/training/pages/user/register.php

ติดต่อสอบถามได้ที่ : งานอบรม อีเมล waiwingrob@gmail.comwarissara.kai@mahidol.ac.th  โทรศัพท์ 0 2441 0201 ต่อ 301 มือถือ 06 1954 6282

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานอบรม โทรศัพท์ 0 2441 0201 ถึง4 ต่อ 301 โทรสาร 0 2441 9333
E-mail : waiwingrob@gmail.com,warissara.kai@mahidol.ac.th
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
www.ipsr.mahidol.ac.th